Thursday, September 14, 2023

#ประวัติของนางกวัก History of Nang Kwak

 ประวัติของนางกวัก History of Nang Kwak



นางกวัก เป็นเทพีแห่งโชคลาภตามคติไทย ถือเป็นของขลังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ทำเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอย่างธรรมเนียมไทย นั่งพับเพียบ มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหา เชื่อว่าเทพีองค์นี้จะกวักมือเรียกทรัพย์ เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าแม่ขายชาวไทยเพราะถือว่าเทพีองค์นี้จะเรียกลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าในร้าน

Nang Kwak is the goddess of good fortune according to Thai folklore. It is considered a kind of magical item. It has the appearance of a sacred image made of a woman wearing traditional Thai clothing and jewelry, sitting with her legs crossed, her left hand resting on her side or on her lap. The right hand is raised to shoulder level in a gesture of beckoning or calling to come. It is believed that this goddess will beckon and attract wealth. It is highly respected among Thai merchants because it is considered that this goddess will call customers to come and buy products in the store.

 

คติการนับถือนางกวักแต่ดั้งเดิม คือ นับถือเป็นผีบรรพชนนางหนึ่งของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไท โดยเป็นสตรีไทคนแรก ๆ ที่มีความสามารถเกี่ยวกับการทอผ้า จนกลายเป็นสินค้าที่สามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่น ๆ เพื่อการยังชีพหรือสร้างรายได้โดยคติความเชื่อนางกวักแบบเดิมนี้ยังตกทอดในกลุ่มชาวไทต่าง ๆ

The traditional belief in respecting Nang Kwak is to regard her as an ancestral ghost of the Tai-speaking people. She was one of the first Thai women to have the ability to weave cloth. Until it has become a product that can be exchanged with other products for sustenance or income generation. This same Nang Kwak belief is still passed down among various Tai people.


เช่น ชาวไทพวนในจังหวัดลพบุรีและสุโขทัย ยังมีการละเล่น เรียกว่า นางกวัก โดยมีอุปกรณ์สำคัญในกิจกรรมคือ "กวัก" (อุปกรณ์ที่ใช้ปั่นด้าย) เพื่อเชิญผีบรรพชนมาลงคนทรง เพื่อเยี่ยมยามลูกหลานและทำนายทายทัก


For example, the Tai Phuan people in Lopburi and Sukhothai provinces. There is also a game called Nang Kwak, with the important equipment in the activity being "Kwak" (a device used for spinning thread) to invite the ghosts of the ancestors to enter the medium,to visit the children and grandchildren and make predictions.


นอกจากนี้ยังพบกิจกรรมเช่นเดียวกันนี้ในชุมชนลาวครั่งบางแห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย[4] ส่วนนางกวักในสังคมชาวไทยในภาคกลางได้ตกทอดคติการนับถือผีผู้หญิงของคนไทย ซึ่งนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ ดังเช่นคติการนับถือแม่โพสพ


Similar activities have also been found in some Lao Krang communities. and the northeastern region of Thailand  As for Nang Kwak, Thai society in the central region has inherited the Thai people's belief in respecting female ghosts, which respects the female gender as superior as in the motto of respecting Mae Phosop.


ความเชื่อเรื่องนางกวักได้พัฒนาเปลี่ยนสภาพจากผีไปเป็นเทพที่คอยกวักเงินกวักทองมาให้ ปรากฏการหล่อปั้นนางกวักครั้งแรกราวยุคกรุงศรีอยุธยา โดยมากพบเป็นขนาดบูชา สร้างจากเนื้อโลหะ, ดินเผา หรือสลักจากไม้


The belief in Nang Kwak has evolved from a ghost to a deity who brings money and gold. The first casting of Nang Kwak appeared around the Ayutthaya period. Mostly found in worship size. Constructed from metal, terracotta or carved from wood.


ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์คติการนับถือนางกวักปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สยามมีเศรษฐกิจเฟื่องฟู มีการขยายตัวของกิจการร้านรวงในกรุงเทพมหานครและตามหัวเมืองใหญ่ ๆ


Later in the Rattanakosin period, the idea of ​​honoring Nang Kwak became more evident during the reigns of King Mongkut and King Chulalongkorn. Because during that time period Siam had a booming economy. There is an expansion of shop business in Bangkok and in major cities.


นอกจากนี้ในประเทศญี่ปุ่นยังมีการนับถือแมวกวักหรือมาเนกิเนโกะ โดยแมวกวักเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2395 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟู


In Japan, there is also the worship of the beckoning cat or maneki neko. The beckoning cat first occurred in 1852, which coincided with the reign of King Mongkut. This was a time when the Japanese economy was booming.